ข้อมูลทั่วไป

๑. ด้านกายภาพ
     ๑.๑  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
              ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่  ประกอบด้วย

  • หมู่ที่  ๑  บ้านดอนใหญ่ใต้
  • หมู่ที่  ๒  บ้านดอนใหญ่เหนือ
  • หมู่ที่  ๓  บ้านบูรพา
  • หมู่ที่  ๔  บ้านโนนหนองบัว
  • หมู่ที่  ๕  บ้านทุ่งขุน
  • หมู่ที่  ๖  บ้านโคกสว่าง
  • หมู่ที่ ๗   บ้านกุดสมบูรณ์


              ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่  ประกอบด้วยหมู่ที่  ๑  บ้านดอนใหญ่ใต้หมู่ที่  ๒  บ้านดอนใหญ่เหนือหมู่ที่  ๓  บ้านบูรพาหมู่ที่  ๔  บ้านโนนหนองบัวหมู่ที่  ๕  บ้านทุ่งขุนหมู่ที่  ๖  บ้านโคกสว่างหมู่ที่ ๗   บ้านกุดสมบูรณ์https://www.google.com/maps/embed?pb=!1m18!1m12!1m3!1d3845.709200506228!2d105.2897681213741!3d15.446238785811314!2m3!1f0!2f0!3f0!3m2!1i1024!2i768!4f13.1!3m3!1m2!1s0x3115c5ecde398a41%3A0xed9c7559b04d59df!2z4Lit4LiH4LiE4LmM4LiB4Liy4Lij4Lia4Lij4Li04Lir4Liy4Lij4Liq4LmI4Lin4LiZ4LiV4Liz4Lia4Lil4LiU4Lit4LiZ4LmD4Lir4LiN4LmI!5e0!3m2!1sth!2sth!4v1506727294111
           สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่ (ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง  ณ  วันที่  ๑๒  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๐)ตั้งอยู่ที่  หมู่  ๒  ตำบลดอนใหญ่  อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานีโทรศัพท์  045-2527-00 โทรสาร  045-2527-00 ๑.๒  ลักษณะภูมิประเทศ
              ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ ๖๐%  เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร ๓๕ %  และมีพื้นที่ส่วนอื่น ๕%  มี ๓ ดูกาล  (ฤดูร้อน  ฤดูฝน ฤดูหนาว)

      ๑.๓  ลักษณะภูมิอากาศ
              ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู  ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม  อากาศร้อนและแห้งแร้ง  แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๙ องศาเซลเซียส  ร้อนจัด  มีอุณหภูมิประมาณ  ๔๐  องศาเซลเซียสขึ้นไปฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม  แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม  แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง   มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ  ๙๐๐  มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด  ประมาณ  ๑๕ องศา      ๑.๔ ลักษณะของดิน
               ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ประมาณ  ๗๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๕ % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๐ % 

 ๑.๕  ลักษณะของแหล่งน้ำ
               มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ  อุปโภค-บริโภค  จำนวน  ๕  แห่ง   แหล่งน้ำทั้ง ๕ แห่งเคยเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
และองค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน 
ดังนี้ ลำห้วย        ๑        แห่ง    
สระน้ำ         ๓        แห่ง
หนองน้ำ      ๓       แห่ง    
บ่อน้ำตื้น       –         แห่ง
ลำคลอง      –        แห่ง    
บ่อบาดาล     ๕     แห่ง
บึง              –         แห่ง    
อ่างเก็บน้ำ    –         แห่ง
แม่น้ำ          –         แห่ง    
ฝาย            ๒        แห่ง
อื่นๆ (ระบุ)   –         แห่ง    
เหมือง          –         แห่ง    
๑.๕ ลักษณะของไม้และป่าไม้
            ในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีป่าไม้  แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น  ผลัดใบ 

๒. ด้านการเมือง/การปกครอง       
           องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดตั้งชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  มีทั้งหมด  ๗  ชุมชน  แต่ละชุมชนมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน  ๙  คน  ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล  ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี  เช่น  การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕  ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ๑,๙๒๗   คน  จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น  ๒,๗๔๘  คน  คิดเป็นร้อยละ  ๗๑.๗๖  จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ๑,๙๗๗ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๒,๗๓๗ คน  คิดเป็นร้อยละ  ๗๒.๒๓  ปัญหาคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูง มีจุดที่น่าสังเกตคือ มีการย้ายเข้าย้ายออกช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้ใหญ่บ้าน  สมาชิกสภา  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  โดยเฉพาะ การคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน  การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลคือ  ขอความร่วมมือ  ผู้นำ  เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ  การรณรงค์  ประชาสัมพันธ์  ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้พยายามแก้ไข  โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย  ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดโครงการอบรมศึกษา  ดูงาน  ของคณะผู้บริหาร  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล  อสม. และกรรมการชุมชน  โครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ  เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เจริญเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ  โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ  มีอัตรากำลังพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านบริการ  โดยองค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเขตการปกครอง  ดังนี้
 
        ๒.๑ เขตการปกครอง
เดิมเป็นเขตการปกครองของตำบลวาริน  อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี  ต่อมาได้แยกเป็นตำบลดอนใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ 
               ตำบลดอนใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอศรีเมืองใหม่  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ     42    ตารางกิโลเมตร    หรือประมาณ    26,250   ไร่     ห่างจากอำเภอศรีเมืองใหม่เป็นระยะทางประมาณ  6  กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี  เป็นระยะทางประมาณ  89  กิโลเมตร
               อาณาเขตติดต่อ
               ตำบลดอนใหญ่มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลต่าง ๆ  ดังนี้
                   –  ทิศเหนือ       ติดต่อกับ   ตำบลนาคำ  อำเภอศรีเมืองใหม่
                   –  ทิศใต้          ติดต่อกับ    ตำบลวาริน  และตำบลคำไหล  อำเภอศรีเมืองใหม่
                   –  ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   ตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่
                   –  ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ         ตำบลแก้งกอก  และตำบลวาริน  อำเภอศรีเมืองใหม่
              ตำบลดอนใหญ่มีถนนลาดยางเชื่อมติดต่อระหว่างอำเภอพาดผ่านคือทางหลวงหมายเลข  2134  จากอำเภอตระการพืชผลไปยังอำเภอโขงเจียมเป็นระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร มีถนนลาดยางของกรมทางหลวงหมายเลข 2135 จากสามแยกบ้านดอนใหญ่เหนือ  ไปถึงอำเภอศรีเมืองใหม่  มีระยะทางประมาณ   6  กิโลเมตร  และมีถนนลาดยางของ รพช. จากบ้านดอนใหญ่ใต้ไปอำเภอพิบูลมังสาหารเป็นระยะทางประมาณ  25  กิโลเมตร

จำนวนหมู่บ้าน
ตำบลดอนใหญ่เป็นตำบลขนาดกลาง   เป็นตำบลหนึ่งใน  11  ตำบลของอำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี  ประกอบด้วย  7  หมู่บ้าน  ดังนี้
หมู่ที่ชื่อหมู่บ้าน
1บ้านดอนใหญ่ใต้
2บ้านดอนใหญ่เหนือ
3บ้านบูรพา
4บ้านโนนหนองบัว
5บ้านทุ่งขุน
6บ้านโคกสว่าง
7บ้านกุดสมบูรณ์

  ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของหมู่บ้านต่าง ๆ  ในตำบลดอนใหญ่  ส่วนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  โดยส่วนมากเครือญาติกันก็จะปลูกบ้านใกล้เคียงกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการปลูกบ้านจะปลูกในที่ดินของตนการปลูกบ้านโดยภาพรวมไม่กระจัดกระจาย  จะมีเพียง  3  หมู่บ้าน  คือ  หมู่ที่  4  หมู่ที่ 6 และหมู่ที่  7  ที่เริ่มมีการกระจัดกระจายไปตั้งบ้านเรือนตามแนวความยาวของถนน   หรือตามบริเวณที่ทำกินของตนเองซึ่งเป็นแหล่งเกษตร  เช่นโคกภูดิน  ภูกระแต  เป็นต้น  ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีการกระจายออกไป ตั้งบ้านเรือนของหมู่บ้านต่างๆ  มากขึ้น  สาเหตุเนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น  บริเวณหมู่บ้านเริ่มแออัด  คับแคบ  หรือเพื่อประกอบการเกษตรตลอดทั้งปี  เช่นการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลังฤดูเก็บเกี่ยว  

         ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน  การช่วยเหลืองานองค์การบริหารส่วนตำบล เสนอแนะในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ